เมนู

ภคธรรม ทรงคายภาคธรรม.
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

ความหมายของ อรหํ


บทว่า อรหตา ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ชื่อว่า เป็น
พระอรหันต์ เพราะเหตุเหล่านี้คือ เพราะทรงห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย 1
เพราะทรงทำลายข้าศึกคือกิเลสไม่มีส่วนเหลือ 1 เพราะทรงทำลายซี่กำแห่ง
สังสารจักร 1 เพราะทรงควรแก่ปัจจัยเป็นต้น 1 เพราะไม่มีความลับ ในการ
ทำบาป 1. นี้คือความย่อในบทนี้ ส่วนความพิสดารพึงทราบตามนัยที่กล่าว
แล้วในวิสุทธิมรรคเถิด.
อนึ่ง ในอธิการนี้พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ ด้วยบทว่า ภควตา นี้
ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระรูปกาย อันไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น
ประดับ ด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ อนุพยัญชนะ 80 และพระเกตุมาลา
มีรัศมีแผ่ไปได้ประมาณ 1 วา ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ชื่อว่าทรงบุญ-
ลักษณะไว้ตั้ง 100 เพราะทรงมีบุญสมภารที่ทรงสั่งสมไว้หลายอสงไขยกัป
ด้วยการแสดงว่าพระองค์ทรงคายภาคยธรรมได้แล้ว. ด้วยบทว่า อรหตา นี้
ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกายที่เป็นอจินไตย อาทิ พลญาณ 10
เวสารัชชญาณ 4 อสาธารณญาณ 6 และอาเวณิกพุทธธรรม (ธรรมเฉพาะ
พระพุทธเจ้า) 18 เพราะแสดงการบรรลุสัพพัญญุตญาณมีการสิ้นอาสวะเป็น
ปทัฏฐาน โดยการแสดงการละกิเลสที่ไม่มีส่วนเหลือด้วยบททั้งสอง ท่านแสดง
ถึงความที่พระองค์อันนักปราชญ์ชาวโลกนับถือมาก 1 ความที่พระองค์อัน
คฤหัสถ์และบรรพชิตพึงเข้าไปหา 1 ความที่พระองค์ทรงสามารถในการบำบัด
ทุกข์ทางกาย และทางใจของคฤหัสถ์ และบรรพชิตเหล่านั้น ผู้เข้าไปหา 1

ความที่พระองค์ทรงมีอุปการะด้วยอามิสทาน และธรรมทาน 1 ความที่พระ-
องค์ทรงสามารถในการชักนำประชาชนให้ประกอบด้วยคุณที่เป็นโลกิยะ และ
โลกุตระ 1. อนึ่ง ด้วยบทว่า ภควตา นี้ ท่านแสดงความถึงพร้อมด้วยจรณะ
(ของพระองค์) โดยแสดงความประกอบพร้อมด้วยวิหารธรรม อันวิเศษมีทิพ-
วิหารธรรมเป็นต้น อันเป็นยอดในบรรดาจรณธรรมทั้งหลาย. ด้วยบทว่า
อรหตา นี้ ท่านแสดงความถึงพร้อมด้วยวิชชา โดยแสดงการบรรลุอาสวักขย-
ญาณ อันเป็นยอด (สูงสุด) ในวิชชาทุกประการ. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทแรก
(ภควตา) ท่านประกาศถึงการประกอบด้วยเวสารัชชญาณข้อหลัง 2 ข้อ โดย
แสดงความที่อันตรายิกธรรม และนิยยานิกรรม อันพระองค์ทรงจำแนกไว้
ไม่มีผิดพลาด. ด้วยบทหลัง (อรหตา) ท่านประกาศถึงการประกอบด้วย
เวสารัชชญาณข้อแรก 2 ข้อ โดยแสดงการละกิเลส พร้อมทั้งวาสนาได้ไม่มี
เหลือ.
อนึ่ง ด้วยบทแรก (ภควตา) ท่านประกาศถึงความบริบูรณ์แห่ง
อธิษฐานธรรมคือสัจจะ และอธิษฐานธรรมคือจาคะ โดยแสดงถึงปฏิญญาสัจจะ
วจีสัจจะ และญาณสัจจะของพระตถาคต โดยแสดงถึงการสละทิ้งกามคุณ
ความเป็นใหญ่ทางโลก ยศ ลาภ และสักการะเป็นต้น และโดยแสดงถึงการ
สละทิ้งอภิสังขารคือกิเลสไม่มีเหลือ. ด้วยบทที่ 2 (อรหตา) ท่านประกาศ
ถึงความบริบูรณ์แห่งอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ และอธิษฐานธรรมคือปัญญา
โดยแสดงถึงการได้บรรลุ การสงบระงับสังขารทั้งหมด และโดยแสดงถึงการ
บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ.
จริงอย่างนั้น ความมีอธิษฐานธรรมคือสัจจะเป็นบารมีของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ผู้ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทำอภินิหารไว้ในโลกุตรคุณ
ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงบำเพ็ญบารมีทุกข้อตามปฏิญญา เนื่องจากทรง
ประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ความมีอธิษฐานธรรมคือจาคะเป็นบารมี

ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงสละทิ้งสิ่งที่เป็นข้าศึก ความมีอธิษฐานธรรมคือ
อุปสมะเป็นบารมี ถึงความบริบูรณ์ เพราะทำจิตให้สงบด้วยคุณทั้งหลาย รวม
ความว่า อธิษฐานธรรมคือปัญญา ถึงความบริบูรณ์ เพราะความที่พระองค์
ทรงฉลาดในอุบายอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ดังพรรณนามานี้แล. อนึ่ง
อธิษฐานธรรมคือสัจจะ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงปฏิญญาว่า จักให้ไม่ทำ
ชนผู้ขอให้คลาดเคลื่อน (พลาดหวัง) คือ เพราะทรงให้โดยไม่ทำปฏิญญาให้
คลาดเคลื่อน อธิษฐานธรรมคือจาคะ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงสละ
ไทยธรรม อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงระงับภัย
คือ โลภะ โทสะ โมหะ ได้ในเมื่อผู้รับไทยธรรมไม่มี และไทยธรรมคือทาน
หมดไป อธิษฐานธรรมคือปัญญา ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงให้ตามควร
ตามกาล และตามวิธี และเพราะทรงยิ่งด้วยปัญญา. ความบริบูรณ์แห่งอธิษฐาน
ธรรม 4 แม้ในบารมีที่เหลือก็พึงทราบตามนัยนี้. ก็บารมีทั้งหมด อบรม
(ทำให้เกิดมี) ด้วยสัจจะ เด่นชัดด้วยจาคะ เพิ่มพูนด้วยอุปสมะ บริสุทธิ์ด้วย
ปัญญา รวมความว่า อธิษฐานธรรม คือ สัจจะของพระตถาคต ผู้ประกอบ
ด้วยอธิษฐานธรรม 4 ถึงความบริบูรณ์ ดังพรรณนามานี้.
ศีลวิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรม
คือสัจจะ อาชีววิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน
ธรรมคือจาคะ จิตวิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษ-
ฐานธรรมคืออุปสมะ ทิฏฐิวิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วย
อธิษฐานธรรมคือปัญญา อนึ่ง ศีลของพระตถาคตนั้น พึงทราบด้วยการอยู่
ร่วมกัน เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ. ความสะอาด พึง
ทราบด้วยการแลกเปลี่ยน (สังโวหาร) เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรม
คือ จาคะ. กำลังใจ พึงทราบในคราวมีอันตรายทั้งหลาย เพราะทรงประกอบด้วย

อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. ปัญญา พึงทราบในคราวสนทนา เพราะทรง
ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา. อนึ่ง พระตถาคต อันโทสะประทุษร้าย
ไม่ได้ ทรงยับยั้งพระทัยให้อยู่เหนือโทสะได้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน.
ธรรมคือสัจจะ พระตถาคต อันโลภะให้ละโมบไม่ได้ ทรงเสพปัจจัย เพราะ
ทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ. พระตถาคต อันภัยทำให้หวาดกลัว
ไม่ได้ ทรงหลีกเว้นได้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ.
พระตถาคต อันโมหะให้หลงไม่ได้ ทรงขจัดโมหะเสียได้ เพราะทรงประกอบ
ด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา.
อนึ่ง การที่ทรงบรรลุถึงเนกขัมมสุข ของพระตถาคตนั้น ท่านแสดง
ไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ. การที่ทรงบรรลุถึง
ปวิเวกสุข ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ.
การที่ทรงบรรลุถึงอุปสมสุข ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน-
ธรรมคืออุปสมะ. การที่ทรงบรรลุถึงสัมโพธิสุข ท่านแสดงไว้ เพราะทรง-
ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา.
อีกอย่างหนึ่ง การที่ทรงบรรลุถึงปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ท่าน
แสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ การทราทรงบรรลุถึง
ปีติ และสุขอันเกิดจากสมาธิ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน-
ธรรมคือจาคะ. การที่ทรงบรรลุถึงสุขทางกายอันเกิดจากปีติ ท่านแสดงไว้
เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. การที่ทรงบรรลุถึงอุเบกขา
และสุขอันเกิดจากความบริสุทธิ์ของสติ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วย
อธิษฐานธรรมคือปัญญา.
อนึ่ง การที่ทรงประกอบด้วยความสุขอันเกิดจากปัจจัย ซึ่งมีบริวาร
สมบัติเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือ

สัจจะ เหตุทีไม่ตรัสให้คลาดเคลื่อน. การที่ทรงประกอบด้วยความสุขตามสภาวะ
ซึ่งมีความสันโดษเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน-
ธรรมคือจาคะ เหตุที่พระองค์ไม่มีโลภะ. การที่ทรงประกอบด้วยความสุขอัน
เกิดจากเหตุมีความเป็นผู้ได้ทำบุญไว้แล้วเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะ
ทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ เหตุที่พระองค์ไม่ทรงถูกกิเลส
ครอบงำ. การที่ทรงประกอบด้วยความสุขอันเกิดจากความสงบระงับทุกข์ ซึ่ง
มีวิมุตติสมบัติเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน-
ธรรมคือปัญญา เหตุที่ทรงบรรลุนิพพานได้ด้วยญาณสมบัติ.
อนึ่ง การที่ตรัสรู้และแทงตลอดศีลขันธ์อันเป็นอริยะได้สำเร็จ ท่าน
แสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ การที่ตรัสรู้และ
แทงตลอดสมาธิขันธ์อันเป็นอริยได้สำเร็จ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบ
ด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ. การที่ตรัสรู้และแทงตลอดปัญญาขันธ์อันเป็น
อริยะได้สำเร็จ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา.
การที่ตรัสรู้และแทงตลอดวิมุตติขันธ์อันเป็นอริยะได้สำเร็จ ท่านแสดงไว้
เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. ความสำเร็จแห่งปัจจัย 4
ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือสัจจะ ความสำเร็จแห่งการ
สละทิ้งทั้งปวง ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือจาคะ. ความ
สำเร็จแห่งอินทรียสังวร ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือ
อุปสมะ ความสำเร็จแห่งพุทธิ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรม
คือปัญญา. และความสำเร็จแห่งนิพพาน ท่านก็แสดงไว้ เพราะทรง
บำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือปัญญานั้น . อนึ่ง การได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ท่านแสดง
ไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือสัจจะ การได้อริยวงศ์ 4 ท่านแสดง
ไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือจาคะ. การได้อริยวิหารธรรม 4

ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. การได้อริยโวหาร
4 ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือปัญญา.
อีกนัยหนึ่ง ท่านประกาศพระมหากรุณาของพระตถาคตเจ้า โดย
แสดงการที่พระองค์ทรงปรารถนาโลกิยสมบัติ และโลกุตรสมบัติ แก่สัตว์
ทั้งหลาย ด้วยบทว่า ภควตา นี้. ประกาศปหานปัญญา โดยแสดงการ
ที่พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยการละด้วยบทว่า อรหตา นี้. บรรดาพระปัญญา
และพระกรุณาทั้งสองนั้น ประกาศการที่พระองค์ทรงบรรลุความเป็นพระ-
สัทธรรมราชา ด้วยพระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรงจำแนกธรรมไว้
อย่างดี ด้วยพระกรุณา. ประกาศการที่พระองค์ทรงหน่ายในสังสารทุกข์ ด้วย
พระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรงทำลายสังสารทุกข์ด้วยพระกรุณา.
ประกาศการที่พระองค์ทรงกำหนดรู้สังสารทุกข์ด้วยพระปัญญา ประกาศการที่
พระองค์ทรงเริ่มแก้ทุกข์ของบุคคลอื่นด้วยพระกรุณา. ประกาศการที่พระองค์
ทรงมีพระทัยมุ่งมั่นต่อปรินิพพานด้วยพระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรง
บรรลุปรินิพพานนั้น ด้วยพระกรุณา. ประกาศการที่พระองค์ทรงข้ามพ้นสังสาร
ด้วยพระองค์เอง ด้วยพระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรงยังบุคคลเหล่าอื่น
ให้ข้ามพ้นสังสารด้วยพระกรุณา. ประกาศความสำเร็จแห่งความเป็นพุทธะด้วย
พระปัญญา ประกาศความสำเร็จแห่งพุทธกิจ ด้วยพระกรุณา.
อีกประการหนึ่ง ประกาศภาวะที่พระองค์ทรงเผชิญอยู่ในสังสารใน
ภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ ด้วยพระกรุณา ประกาศการที่พระองค์ไม่ยินดีในสังสาร
นั้น ด้วยพระปัญญา. อนึ่ง ประกาศการที่พระองค์ทรงทำบุคคลเหล่าอื่นให้
ได้รับอภิเษก (ด้วยน้ำอมฤต) ด้วยพระกรุณา ประกาศการที่พระองค์ไม่ทรง
หวั่นเกรงบุคคลเหล่าอื่น ด้วยพระปัญญา. (ประกาศพระดำรัสที่ว่า) เมื่อ

รักษาคนอื่น ก็ชื่อว่า รักษาตนด้วยพระกรุณา (ประกาศพระดำรัสที่ว่า) เมื่อ
รักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาบุคคลอื่นด้วย ด้วยพระปัญญา. อนึ่ง ประกาศการที่
พระองค์ไม่ทำบุคคลอื่นให้เดือดร้อน ด้วยพระกรุณาประกาศการที่พระองค์
ไม่ทำพระองค์เองให้เดือดร้อน ด้วยพระปัญญา. ด้วยการที่ไม่ทรงทำพระองค์
เองให้เดือดร้อนนั้น จึงเป็นอันสำเร็จภาวะเป็นบุคคลที่สี่ (พระอรหันต์) ใน
บรรดาบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองเป็นต้น. อนึ่ง ประกาศ
ความที่พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของโลก ด้วยพระกรุณาประกาศความที่พระองค์
ทรงเป็นที่พึ่งของพระองค์เอง ด้วยพระปัญญา. อนึ่งประกาศภาวะที่พระองค์
ไม่มีอาการฟุบลง (ด้วยอำนาจความเกียจคร้าน) ด้วยพระกรุณา ประกาศภาวะ
ที่พระองค์ไม่มีอาการฟูขึ้น (ด้วยอำนาจกิเลส) ด้วยพระปัญญา.
อนึ่ง ในบรรดาสรรพสัตว์ การทรงอนุเคราะห์ หมู่ชน
ของพระตถาคตเจ้า มีเพราะพระกรุณา แต่พระตถาคตเจ้าก็หาได้
มีพระทัยปราศจากพระกรุณาในที่ทุกแห่งไม่ เพราะทรงคล้อยตามพระ-
ปัญญา พระองค์ทรงมีพระทัยปล่อยวางในธรรมทั้งปวง ก็ด้วยพระปัญญา
แต่พระองค์ก็หาได้ทรงประพฤติเพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทุกประเภทไม่ เพราะทรง
คล้อยตามพระกรุณา. เหมือนอย่างว่า พระกรุณาของพระตถาคตเจ้า เว้น
จากความเสน่หา และความโศก ฉันใด พระปัญญาของพระองค์ก็ฉันนั้น
คือพ้นจากอหังการ และมมังการ รวมความว่า พระกรุณาและปัญญา (ของ
พระองค์) ต่างชำระกันและกันให้บริสุทธิ์ จึงควรเห็นว่า เป็นพระคุณบริสุทธิ์
อย่างยิ่ง. บรรดาพระกรุณาและพระปัญญาทั้งสองนั้น ขอบเขตแห่งพระปัญญา
เป็นพละ ขอบเขตแห่งพระกรุณาเป็นเวสารัชชะ. บรรดาพละและเวสารัชชะ
ทั้งสองนั้น เพราะทรงประกอบด้วยพละ พระตถาคตเจ้าจึงไม่ถูกคนอื่น

ครอบงำ เพราะทรงประกอบด้วยเวสารัชชะ พระองค์จึงทรงครอบงำคนอื่น
ได้. ความสำเร็จแห่งสัตถุสัมปทา (ของพระองค์) มีได้เพราะพละทั้งหลาย
ความสำเร็จแห่งศาสนสัมปทามีได้เพราะเวสารัชชะทั้งหลาย. อนึ่ง ความสำเร็จ
แห่งพุทธรัตนะมีได้เพราะพละทั้งหลาย ความสำเร็จแห่งธรรมรัตนะมีได้
เพราะเวสารัชชะทั้งหลาย. นี้เป็นการแสดงเพียงแนวทางการขยายความของ
บททั้งสองที่ว่า ภควตา อรหตา ในที่นี้.

เหตุผลที่กล่าว วุตฺตํ ไว้สองครั้ง


ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา
ไว้แล้ว จึงกล่าวคำว่า วุตฺตํ ไว้อีกเล่า ? ตอบว่า ท่านกล่าวคำว่า วุตฺตํ
ไว้อีก ก็เพื่อแสดงความแน่นอน โดยปฏิเสธการได้ฟังตามกันมา. เหมือน
อย่างว่า คนบางคนได้ฟังมาจากคนอื่นแล้วพูด ถ้าว่าเรื่องนั้นคนอื่นนั้นมิได้พูด
เอง คือ คนอื่นนั้นมิได้พูดเอง เพราะมีคนอื่นพูดไว้อีกทีหนึ่ง และเรื่องนั้น
คนอื่นนั้น ก็มิได้พูดเองโดยที่แท้ ได้ฟังมาอีกต่อหนึ่งฉันใด ในที่นี้หาเป็น
ฉันนั้นไม่. เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงสดับมาจากบุคคลอื่น
ตรัสสิ่งที่พระองค์ทรงบรรลุด้วยพระองค์เอง ด้วยพระสยัมภูญาณ เพราะเหตุ
นั้น เพื่อแสดงความแปลกกันของ วุตฺตํ สองคำนี้ ท่านจึงได้กล่าวคำว่า วุตฺตํ
ซ้ำถึงสองครั้ง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ก็ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ก็แลข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเองตรัสไว้ หาใช่ผู้อื่นกล่าวไว้ไม่เลย หา
ใช่พระองค์ได้ทรงสดับ ต่อมาจากคนอื่นไม่. จริงอยู่ การกล่าวซ้ำย่อมช่วย
ให้เข้าใจความหมายของกันและกันเพราะเหตุนั้น จึงไม่มีข้อเสียหายในเพราะ
การกล่าวซ้ำ. แม้ในที่แห่งอื่นจากที่นี้ก็มีนัย อย่างเดียวกันนี้.